ถึงแม้การนอนละเมอจะไม่ใช่โรค แต่ก็เป็นอันตรายและเป็นหนึ่งในปัญหาการนอนหลับ สาเหตุของการนอนละเมอยังไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่าเกิดจากอะไร แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากการนอนหลับไม่สนิท ร่างกายได้รับการพักผ่อนไม่เพียงพอ ถูกรบกวนขณะนอน ความเครียด วิตกกังวล อาการเป็นไข้ไม่สบาย อยู่ในภาวะซึมเศร้า เมาค้าง หรือเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยาระงับ หรือกล่อมประสาท
นอนละเมอ มีอาการอย่างไร?
ผู้ที่มีอาการนอนละเมอจะเริ่มมีอาการละเมอหลังจากนอนหลับไปแล้ว 1-3 ชั่วโมง และจะเริ่มมีอาการละเมอหลังจากนอนหลับไปแล้ว 1-3 ชั่วโมง หรือเกิดอาการนอนละเมอในช่วงหลับลึก (Non-REM sleep) อาการของการนอนละเมอ มีตั้งแต่อาการเล็กๆ น้อยๆ อย่างการพูดพึมพำขณะหลับ ละเมอฝันผวาขยับร่างกายไปมา ส่งเสียงร้องขณะที่ตายังหลับอยู่ รู้สึกเหมือนอยู่ในภาวะกึ่งหลับกึ่งตื่นแต่ขยับร่างกายไม่ได้เหมือนถูกผีอำ ละเมอพูดไปเรื่อยๆ ไปจนถึงลุกขึ้นเดินไปเดินมา ย้ายสิ่งของ พูดคุย ทำกิจกรรมต่างๆ จนเหมือนกำลังใช้ชีวิตตามปกติ บางรายอาจถึงขั้นลุกขึ้นมาแต่งตัว ทานอาหารได้เช่นกัน แต่ระยะเวลาในการละเมอจะไม่นานนัก ราวๆ ไม่กี่นาที และส่วนใหญ่คนที่นอนละเมอจะสามารถเดินกลับไปนอนต่อที่เตียงได้เอง
นอนละเมอ อันตรายหรือไม่?
ปกติแล้วอาการนอนละเมอมักเกิดขึ้นในช่วงวัยเด็ก และจะค่อยๆ หายได้เองเมื่อโตเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น แต่ก็มีบางรายที่ยังมีอาการนอนละเมอในวัยผู้ใหญ่ การนอนละเมอเป็นเพียงความผิดปกติของการนอนหลับเท่านั้น ไม่มีอันตรายอะไรต่อร่างกายร้ายแรงมาก เพียงแต่อันตรายที่เกิดขึ้น อาจมาจากอาการที่เกิดหลังจากนอนละเมอ นั่นคือ การออกมาเดินในที่ที่อันตราย เช่น ใช้มีดในห้องครัว ละเมอปีนหน้าต่าง ระเบียงบ้าน เดินลงบันได เปิดประตูเดินออกจากบ้าน เป็นต้น ดังนั้นควรเฝ้าระวังอากัปกิริยาของคนที่ละเมอเอาไว้ให้ดี
ละเมออย่างไรถึงควรไปพบแพทย์ ?
การละเมอมักไม่ค่อยมีความรุนแรง แต่หากทำให้เกิดอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น ก็ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีแก้ไข เช่นมีอาการดังนี้
-ละเมอมากกว่า 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์
-เกิดอันตรายหรือได้รับบาดเจ็บ เช่น ละเมอออกจากบ้าน ขับรถ หรือกระโดดจากที่สูง
-รบกวนการนอนหลับของผู้อื่นหรือผู้นอนละเมอเกิดความอับอาย
-หากละเมอโดยมีสาเหตุจากภาวะทางการแพทย์ เช่นโรคกรดไหลย้อน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข อาการชัก ควรได้รับการรักษาและปรึกษาแพทย์สม่ำเสมอ
ข้อปฏิบัติต่อคนที่มีอาการนอนละเมอเป็นประจำ
ส่วนใหญ่อาการนอนละเมอจะไมได้เกิดเพียงครั้งสองครั้งแล้วหยุด อาจจะมีอาการนอนละเมอเรื่อยๆ ราวๆ 2-4 ครั้งต่อสัปดาห์ หรืออาจจะน้อยหรือมากกว่านั้น สิ่งที่เราควรทำคือ จดบันทึกเวลาเข้านอน และเวลาที่เริ่มมีอาการนอนละเมอ จากนั้นในคืนอื่นๆ ให้ลองปลุกให้เขาตื่นก่อนที่จะเริ่มมีอาการนอนละเมอราว 30 นาที แล้วให้เขาหลับต่ออีกครั้ง วิธีนี้จะช่วยลดอาการนอนละเมอเป็นประจำได้
ขอบคุณข้อมูล: โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
นอกจากจะต้องดูแลสุขภาพร่างกายตัวเองแล้ว การดูแลสุขอนามัยภายในบ้านก็สำคัญ
สะอาด ปลอดภัย ด้วยบริการจาก “ดี ไฮจีนิค”
บทความที่เกี่ยวข้อง
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
De Hygienique ทั้ง 2 สาขา
1. Emporium แผนก The Living ชั้น 4
2. Central ชิดลม แผนก Bedding ชั้น 5
หรือผ่านช่องทางออนไลน์
– Facebook : @dhthailand
– Line : @dh-thailand
– IG : dhthailand
– Call : 02-281-7103