3 วิธี ฟื้นฟูปอดหลังรอดโควิด-19

Share

เมื่อติดเชื้อโควิด-19 แล้วจะมีผลกระทบกับระบบทางเดินหายใจโดยตรง อาจเริ่มตั้งแต่ไม่มีอาการเลย มีอาการเล็กน้อย หรือมีอาการรุนแรงถึงขั้นปอดอักเสบจนถึงแก่ชีวิตได้ เมื่อหายแล้วจะยังทิ้งรอยโรคไว้เหลือเป็นพังผืดและแผลเป็นในปอด ทำให้สมรรถภาพปอดลดลง รู้สึกหายใจไม่เต็มปอด เหนื่อยง่าย ไม่สดชื่น ทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ได้เหมือนเดิม

ปอดอักเสบ / ปอดถูกทำลายได้อย่างไรจากโรคโควิด-19

เชื้อก่อโรคโควิด-19 นั้นเข้าสู่ร่างกายของเราผ่านทางจมูกสู่ปอด ซึ่งแหล่งเก็บเชื้อนี้ก็คือปอดของมนุษย์เรา ดังนั้น เมื่อติดเชื้อก่อโรคโควิด-19 แล้ว ก็จะส่งผลกระทบกับระบบทางเดินหายใจโดยตรงในระยะแรกๆ ผู้ป่วยจะมีอาการเหมือนติดเชื้อไวรัสทั่วไป เช่น มีไข้ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยเนื้อตัว แต่อาการทางระบบทางเดินหายใจยังไม่ค่อยเด่นชัดนัก แต่หากผ่านไปสักระยะหนึ่ง ประมาณวันที่ 3-4 ของการติดเชื้อ ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการไอ เหนื่อยหอบ แบบค่อยเป็นค่อยไป เมื่อผู้ป่วยได้รับการเอกซเรย์ปอด จะเริ่มเห็นความผิดปกติ พบฝ้าขาวเกิดขึ้นในปอดจากฟิล์มเอกซเรย์ ตรงนี้เป็นสิ่งที่ต้องกังวลเนื่องจากผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการขาดออกซิเจนแล้วเกิดการอักเสบของปอดจนกลายเป็นปอดอักเสบในที่สุด  โดยทั่วไปแล้วลักษณะเฉพาะของคนที่เป็นโรคโควิด-19 นั้น ปอดอักเสบจะเกิดขึ้นมากกว่า 1 ตำแหน่ง โดยมักจะเกิดขึ้น 3-4 ตำแหน่ง และจะเป็นที่ปอดทั้ง 2 ข้าง ทั้งนี้ หากในระยะนี้ทำการรักษาได้ทันท่วงที ให้ยาที่เหมาะสม ทั้งยาต้านไวรัส ยาสเตียรอยด์ และยาอื่นๆ ปอดจะค่อยๆ ฟื้นตัวกลับไป จะมีอยู่ประมาณ 10% ที่จะเป็นปอดอักเสบรุนแรง และมีเพียงแค่ 1% เท่านั้นที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

3 วิธี การฟื้นฟูสมรรถภาพปอด 

1.การฝึกการหายใจ (Breathing Exercise) การฝึกการหายใจนั้นจำเป็นในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังการฟื้นตัว ทำได้โดยการออกแรงในการหายใจเข้าทางจมูกจนสุด แล้วควบคุมลมที่หายใจออกมาทางปากช้าๆ หรือพูดคำว่า “อู” ยาวๆ ช้าๆ จนกระทั่งลมหมดปอด แล้วหายใจเข้าใหม่ให้เต็มปอดแล้วออกช้าๆ เช่นเดิม เนื่องจากพังผืดจะทำให้เนื้อปอดมีความแข็ง พังผืดที่แข็งเมื่อได้ขยับบ่อยๆ ก็จะมีการยืดหยุ่นมากขึ้น ทำให้ elasticity หรือความยืดหยุ่นของเนื้อปอดค่อยๆ ฟื้นตัวกลับมา

2.การบริหารปอด จำเป็นในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังการฟื้นตัวเช่นกัน เรียกว่าเป็นกลยุทธ์การฟื้นฟูสมรรถภาพปอดอย่างหนึ่งที่ได้ผลดี ทำได้โดยการใช้เครื่องมือทางการแพทย์ ที่เรียกว่า Triflow โดยให้คนไข้ดูดลูกปิงปองที่มีทั้งหมด 3 ลูก ใน 3 ช่อง ซึ่งจะลอยขึ้นกี่ลูกก็ขึ้นอยู่กับปริมาณลมที่สูดเข้าไป ยิ่งสูดลมเข้าไปมาก ลูกปิงปองก็จะลอยขึ้นเยอะ การดูดลมเข้าปอดโดยใช้เครื่อง Triflow นั้นจึงถือเป็นเทคนิคการบริหารปอดรูปแบบนึงที่ทำให้ปอดขยายเต็มที่ ช่วยให้ปอดมีความยืดหยุ่นมากขึ้น และค่อยๆ ฟื้นตัวได้

3.การออกกำลังกายเบาๆ สามารถทำได้ในสัปดาห์ที่ 3-4 เป็นต้นไป ในช่วงนี้ร่างกายอาจจะยังมีการอ่อนเพลีย แต่ปอดอาจจะเริ่มฟื้นตัวบ้างแล้ว ดังนั้น จึงต้องมีการออกกำลังกาย มีการเคลื่อนไหวร่างกายมากขึ้น โดยอาจเริ่มจากการออกกำลังกายเบาๆ เช่น การลุกเดินบ่อยๆ ไม่อยู่เฉย พอร่างกายเริ่มชินแล้วค่อยขยับความหนักขึ้นไป อาจจะเดินให้ไวขึ้น หรือวิ่ง jogging เบาๆ ได้เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม การฟื้นฟูสมรรถภาพปอดนั้น นอกจากการฝึกการหายใจ การบริหารปอดโดยใช้ Triflow และการออกกำลังกายเบาๆ แล้ว สิ่งที่จำเป็นและควรปฏิบัติตามเป็นประจำสม่ำเสมอเมื่ออยู่ในช่วงฟื้นตัวนั้นก็คือ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการสูดควันบุหรี่และมลพิษต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ป่วยที่รักษาตัวอยู่นานและมีอาการรุนแรง เพื่อให้มีสุขภาพปอดที่ดี ภูมิคุ้มกันของร่างกายที่แข็งแรง และสามารถกลับไปทำกิจกรรมต่างๆ ได้ดังเดิมได้เร็วที่สุด

ขอบคุณข้อมูล: โรงพยาบาลสมิติเวช

นอกจากจะต้องดูแลสุขภาพร่างกายตัวเองแล้ว การดูแลสุขอนามัยภายในบ้านก็สำคัญ

สะอาด ปลอดภัย ด้วยบริการจาก “ดี ไฮจีนิค”

“ดี ไฮจีนิค” 💚  ยืนหนึ่ง‼ ด้านบริการทำความสะอาดพร้อมฟื้นฟูสุขอนามัยแบบครบวงจร ด้วยนวัตกรรมจากประเทศเยอรมนี🇩🇪  ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล มีสาขาทั่วโลกกว่า 40 ประเทศ 👍
✅ บริการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรค ที่นอน พรม โซฟา ผ้าม่าน อันดับ 1 ของโลก ลิขสิทธิ์นำเข้าจากเยอรมนี
✅  ระบบและขั้นตอนที่ทันสมัย แห้งและปลอดสารเคมี 
✅ ได้รับการรับรองผลลัพธ์และความปลอดภัยจาก ECARF (องค์กรวิจัยโรคภูมิแพ้ยุโรป)
✅ มีบริการตรวจสอบปริมาณไรฝุ่น และสารก่อภูมิแพ้ฟรี หรือประเมินพื้นที่ก่อนให้บริการจริง
⠀⠀⠀

บทความที่เกี่ยวข้อง

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

De Hygienique ทั้ง 2 สาขา

1. Emporium แผนก The Living ชั้น 4
2. Central ชิดลม แผนก Bedding ชั้น 5

หรือผ่านช่องทางออนไลน์

– Facebook : @dhthailand

– Line : @dh-thailand

– IG : dhthailand

– Call : 02-281-7103

– www.dh-thailand.com

Scroll to Top