5 วิธีกำจัดกลิ่นอับพรมด้วยเบกกิ้งโซดา / ไม่มีหมวดหมู่ / By Nopphawat DH00039 หาก พรม ของคุณมีกลิ่นแปลกๆ จากเศษอาหารที่หกใส่ กลิ่นสัตว์เลี้ยง หรือกลิ่นจากการเดินย่ำไปมานับปีๆ เบกกิ้งโซดาอาจเป็นทางออกที่ได้ผล การใช้สารเคมีรุนแรงขจัดคราบและกลิ่นนั้นไม่ดีต่อสภาพแวดล้อม และอาจทำให้ดวงตากับระบบการหายใจเกิดระคายเคืองขึ้นได้ เบกกิ้งโซดานั้นมีราคาถูก ใช้ง่าย และยังปลอดภัยต่อทั้งกับคนและสัตว์เลี้ยงด้วย ดี ไฮจีนิค มี 5 วิธีกำจัดกลิ่นอับของพรมมาฝากกันค่ะ 1.ดูดฝุ่นพรมของคุณก่อน(ถ้าเบกกิ้งโซดาผสมฝุ่นสกปรกจะไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ) คุณต้องให้พรมสะอาดเท่าที่จะเป็นไปได้ การดูดฝุ่นพรมจะดูดอนุภาคสิ่งสกปรกชิ้นใหญ่หรือเศษใยพรมที่หลุดออกมา พื้นรองเท้านั้นมักมีน้ำมันกับคราบสกปรกติดอยู่และการเหยียบย่ำบนผืนพรมเป็นประจำก็เหมือนการบดพื้นพรมให้ฝุ่นสกปรกยิ่งติดลึกลงไปในผืนพรม 2.โรยเบกกิ้งโซดาให้ทั่วบริเวณที่คุณอยากฟื้นฟู วางแผนที่จะใช้เบกกิ้งโซดาอย่างน้อยหนึ่งหรือสองกล่อง คุณต้องการจะโรยมันให้ทั่วทั้งผืนพรมจนบอกไม่ได้ว่าพรมสีอะไร เนื่องจากเบกกิ้งโซดานั้นไม่เป็นอันตรายต่อคนและสัตว์เลี้ยง จึงโรยได้ชนิดไม่ต้องเกรงใจ 3.ถูเบกกิ้งโซดากับพรมใช้แปรงหรือฟองน้ำแห้งถูเบกกิ้งโซดาให้แทรกลึกลงไปในเส้นใยของผืนพรม จนมันลงไปถึงก้นพรม นี่ยิ่งจำเป็นหากพรมของคุณเป็นแบบขนยาว ต้องมั่นใจว่าทุกส่วนนั้นถูกปกคลุมด้วยเบกกิ้งโซดา 4.ทิ้งให้เบกกิ้งโซดาได้ซึมลงไปสักหลายชั่วโมงหรือข้ามคืนถ้าสามารถปล่อยไว้นานถึง 24 ชั่วโมงได้ยิ่งดี ยิ่งทิ้งมันไว้นานผลที่ได้ยิ่งดี เบกกิ้งโซดาจะดูดซับกลิ่นให้หายไปโดยธรรมชาติมากกว่าจะกลบกลิ่นนั้น 5.ดูดฝุ่นเบกกิ้งโซดาออกค่อยๆ ทำ เพราะการใช้เบกกิ้งโซดามากขนาดนั้นก็ต้องใช้เวลาสักพักถึงจะกำจัดได้หมด คุณต้องทำไปทีละส่วนหลายๆ ครั้งจนกว่าจะเสร็จ ตราบเท่าที่มันไม่เปียก เบกกิ้งโซดาก็ควรจะถูกดูดขึ้นมาโดยง่าย “ดี ไฮจีนิค” บริการทำความสะอาดพร้อมฟื้นฟูสุขอนามัยแบบครบวงจร เพื่อประสิทธิภาพการนอนที่ดีขึ้น ด้วยนวัตกรรมจากประเทศเยอรมนี “ดี ไฮจีนิค” ยืนหนึ่ง ด้านบริการทำความสะอาดพร้อมฟื้นฟูสุขอนามัยแบบครบวงจร ด้วยนวัตกรรมจากประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล มีสาขาทั่วโลกกว่า 40 ประเทศ บริการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรค ที่นอน พรม โซฟา ผ้าม่าน อันดับ 1 ของโลก ลิขสิทธิ์นำเข้าจากเยอรมนี ระบบและขั้นตอนที่ทันสมัย แห้งและปลอดสารเคมี ได้รับการรับรองผลลัพธ์และความปลอดภัยจาก ECARF (องค์กรวิจัยโรคภูมิแพ้ยุโรป) มีบริการตรวจสอบปริมาณไรฝุ่น และสารก่อภูมิแพ้ฟรี หรือประเมินพื้นที่ก่อนให้บริการจริง⠀⠀⠀ บทความที่เกี่ยวข้อง Previous Next