ความดันโลหิตสูง อันตรายใกล้ตัว!!

ความดันโลหิตสูง (Hypertension) คือภาวะที่ตรวจพบว่ามีความดันเลือดสูงกว่าปกติ คือมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท โดยส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการใดๆ แต่บางรายอาจมีอาการได้ เช่น ปวดหัว เลือดกำเดาไหล หายใจไม่ทัน ซึ่งหากมีอาการดังกล่าวควรพบแพทย์ เพื่อควบคุมความดันให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะหากปล่อยไว้นาน อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น หัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดสมองได้

ความดันโลหิตคืออะไร?
ความดันโลหิต เป็นแรงดันเลือดที่เกิดจากหัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย ซึ่งวัดได้ 2 ค่า ได้แก่
  • ความดันโลหิตค่าบน คือ แรงดันโลหิตขณะที่หัวใจบีบตัวเต็มที่
  • ความดันโลหิตค่าล่าง คือ แรงดันโลหิตขณะที่หัวใจคลายตัวเต็มที่
ความดันโลหิตสูงคืออะไร?
ความกันใส่ทัตสูง (Hypersin) เป็นภาวะที่ตรวจพบว่านี้ความค้นใดในระดับอามผิดปกติ คือมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 นิลลินตรปรอท ซึ่งอาจไม่แสดงอาการ แต่จะป็นสาเหตุทำให้เห็นใจถารผมทรกซ้อนต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคพลอดเลือดสมอง เส้นเลือดแดงใหญ่ใช้เพลง โตวาย เป็นต้น หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและและสะสม อาจทำให้ผู้ป่วยทุพพลภาพหรือเสียชีวิตได้
ปัจจัยเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง
  • อายุ เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นความดันเลือดจะเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย
  • อารมณ์ ความเครียด จะส่งผลให้ความดันเลือดสูงผิดปกติ
  • ประวัติครอบครัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง
  • รับประทานเกลือมากเกินไป อาหารรสจัด
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคอ้วน หรือภาวะไขมันในเลือดสูง
  • ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • สูบบุหรี่
  • พักผ่อนไม่เพียงพอ
อาการของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
ผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการ แต่บางรายพอว่ามีอการปวดหัว เวียนหัว มึนงง และหนื่อยง่ายผิดปกติ ซึ่งหากมีภาวะความดันโลหิตสูงนานๆ แต่ไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้อวัยวะสำคัญต่างๆ ในร่างกายถูกทำลาย ได้แก่ หัวใจ สมอง ไต หลอดเลือด และตา เนื่องจากภาาวะความดันโลหิตสูงจะทำให้ผนังหลอดเลือดแดงหนาตัวขึ้นและรูเล็กลง ทำให้เลือดไปเลี้ยงอัวยะต่างๆ ได้น้อยลง ส่งผลให้อวัยวะเหล่านั้นทำงานไม่เป็นปกติ และหากถูกทำลายอย่างรุนแรงอาจส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชี้วิตได้
ภาวะแทรกช้อนจากโรคความดันโลหิตสูง
  • หัวใจ ได้แก่ ภาวะหัวใจล้มเหลว หัวใจเต้นผิดจังหวะ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
  • ไต อาจเป็นโรคไตวายเรื้อรัง
  • สมอง อาจเป็นโรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต
  • ตา อาจเกิดความผิดปกติที่จอประสาทตา
สาเหตุที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง
แบ่งเป็น 2 กลุ่ม
1.กลุ่มไม่ทราบสาเหตุ (Essential Hypertension) พบมากกว่า 90% พบได้บ่อยในรายที่มีประวัติครอบครัวเป็นความดันโลหิตสูง อายุมากส่วนใหญ่
2.กลุ่มที่ทราบสาเหตุ (Secondary Hypertension) พบได้น้อย โดยพบในผู้ป่วยที่มีโรคอยู่แล้ว เช่น
  • ผู้ที่มีปัญหาภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น
  • โรคไต, หลอดเลือดที่ไตตีบ
  • เนื้องอกที่ต่อมหมวกไต
  • โรคต่อมไทรอยด์
  • ความผิดปกติของหลอดเลือด
  • ภาวะอ้วนลงพุง
  • ยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด ยารักษาโรคไข้หวัด ยาลดความอ้วน ยาแก้ปวด และยาอื่นๆ
  • การใช้สิ่งเสพติดที่ผิดกฎหมาย ตัวอย่าง เช่น โคเคน และยาบ้า
ข้อควรปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูง
ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติหรือใกล้เคียงปกติ
โดยค่าดัชนีมวลกาย 220 (Body mass index; BMI) ที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 18.5- 22.9 กิโลกรัมต่อเมตรกำลังสอง หรือรักษาระดับเส้นรอบเอวในอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ในผู้ชายน้อยกว่า 90 เซนติแตรหรือ 36 นิ้ว ส่วนผู้หญิงน้อยกว่า 80  เซนติเมตรหรือ 32 นิ้ว หนือวิธีการคำนวณอย่างง่ายไม่เกินส่วนสูง เซนติเมตรหารสอง
ตัวอย่างการคำนวณ เช่น ผู้ป่วยน้ำหนัก 65 กิโลกรัม ส่วนสูง 155 เซนติเมตร
คำนวณดัชนีมวลกาย = 65 ÷ (1.55 x 1.55) = 27.05 กิโลกรัมต่อเซนติเมตร
คำนวณเส้นรอบเอวที่เหมาะสม = 155 ÷ 2 = 77.5 เซนติเมตร
ในกรณีที่มีน้ำหนักตัวเกิน การลดน้ำหนักลงร้อยละ 5 ของน้ำหนักตั้งต้งขึ้นไปจะส่งผลให้ความดันโลหิตลดลงเทียบเท่ากับยาลดความดันโลหิต 1 ชนิด
การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ (Healthy diet)
ควรรับประทานอาหารให้หลากหลายครม 5 หนู โดยใช้หลักการ อาหารจานารภาพ (Plate method) หรือ ทฤษฎี 2:1 “นัก 2 ส่วน : ส่วน : เนื้อสัตว์ 1 ส่วน” การรับประทานผักผลไม้ในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยให้ร่างกายได้รับโพแทสเซียม แมกนีเขียม แคลเซียม และใยอาหารที่ช่วยดความตันโลทิตสูงได้
 
ดูแลสุขภาพอย่างไรจึงจะควบคุมได้
  • รับประทานยา และพบแพทย์ตามนัด ไม่หยุดยาเองแม้ว่าจะมีความดันเป็นปกติ และไม่เปลี่ยนขนาด หรือชนิดยา เพราะประสิทธิภาพของยาจะแตกต่างกันในแต่ละราย ผู้ที่มีอาการจากผลข้างเคียงของยาควรปรึกษาแพทย์
  • บริโภคอาหารรสธรรมชาติ ไม่ปรุงแต่งรสหวาน มัน เค็มจัดควรฝึกให้ชินกับอาหารรสธรรมชาติ หรือใช้สมุนไพรปรุงรสแทนและบริโภคแบบสด การบริโภคอาหารเค็มจะทำให้ความดันไม่ลงและดื้อต่อการรักษา
  • ลดน้ำหนักส่วนเกิน เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากวิธีหนึ่งในการลดความดันโลหิตผู้ที่ลดน้ำหนักได้ต่อเนื่องทุก 10 กิโลกรัมความดันค่าบนจะลดลงเฉลี่ย 5-20 มม.ปรอท
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ วันละ 20-30 นาทีแบบต่อเนื่องสัปดาห์ละ 5-7 วัน เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ว่ายน้ำ เป็นต้นจะช่วยให้ยามีประสิทธิภาพดีขึ้น ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงมากควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มออกกำลังกาย
  • การสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์ จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเร็วขึ้น และเป็นสาเหตุของโรคอันตรายอื่น
  • เลือกบริโภคอาหารลดความดัน (Dietary Approaches to Stop Hypertension, DASH) โดยบริโภคอาหารไขมันต่ำแบบหมุนเวียน เช่น เนื้อไก่ไม่ติดหนัง ปลา อาหารมังสวิรัติ และเพิ่มการบริโภค ผักผลไม้ ธัญพืชมากขึ้นในแต่ละมื้อ  และลดบริโภคเนื้อสัตว์มากเกินไป
  • สร้างวิถีชีวิตให้เอื้อต่อการมีสุขภาพจิตที่ดี  รู้จักคลายเครียด7. สร้างวิถีชีวิตให้เอื้อต่อการมีสุขภาพจิตที่ดี  รู้จักคลายเครียดและทำจิตใจให้สงบ เช่น ปฏิบัติศาสนกิจ เจริญสมาธิ ฝึกโยคะชี่กง เป็นต้น พบว่าการฝึกหายใจ ช้าน้อยกว่า 10 ครั้ง/นาทีวันละ 15-20 นาที ประมาณ 2 เดือน จะช่วยลดความดันโลหิตได้ประมาณเท่ากับการกินยารักษาความดัน 1 ชนิด
  • เมื่อมีภาวะเจ็บป่วยด้วยโรคอื่นๆ ควรแจ้งแพทย์เรื่องความดันโลหิตสูงเนื่องจากยาบางอย่างมีผลข้างเคียงทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
ความดันโลหิตสูง ต้องกินยาไปตลอดชีวิต จริงไหม?
  • ไม่จริง แต่ต้องได้รับการประเมินความเสี่ยงของผู้ป่วยที่จะเกิดขึ้นในอนาคตโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อน เนื่องจากความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ทั้งหัวใจ สมองและไตได้ จึงจำเป็นที่ต้องรับประทานยาควบคุมความดันโลหิตอย่างต่อเนื่อง
  • ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อรักษาระดับความดันโลหิตเฉลี่ยให้ต่ำกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ถ้าแพทย์พิจารณาเห็นว่าผู้ป่วยมีความดันลดลงมาอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ รวมถึงภาวะทางร่างกายและโรคร่วมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องควบคุมได้ดีแล้ว เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน ปริมาณไขมันในเลือด แพทย์อาจพิจารณาลดยาความดันโลหิตบางอย่างลง จนในที่สุดผู้ป่วยก็สามารถหยุดยาได้ตามที่แพทย์เห็นสมควร
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ป้องกันความดันโลหิตสูง
  • ลดน้ำหนักให้ดัชนีมวลกาย (BMI) อยู่ในช่วง 18.5-24.9 กก/ตรม
  • ควบคุมอาหาร จำกัดเกลือในอาหาร รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นรับประทานเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เนื้อปลา และผลไม้รสหวาน
  • ออกกำลังกายแบบแอโรบิก เช่น การเดินเร็วๆ ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน อย่างน้อยวันละ 30 นาที 5 วันต่อสัปดาห์
  • จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เกิน 2 Drinks/วัน ในผู้ชาย (Ethanol 30 กรัม/วัน เช่น เบียร์ 720 มล., ไวน์ 300 มล., วิสกี้ที่ยังไม่ผสม 90 มล.) และไม่เกิน 1 Drink/วัน ในผู้หญิงและคนน้ำหนักน้อย
  • เลิกสูบบุหรี่

สุขภาพดีเริ่มต้นที่การนอนหลับด้วย Sleep Tight Pillow Spray ผ่อนคลาย หลับสบายตลอดคืน พักผ่อนร่างกายและจิตใจ💚 ทำให้เรื่องนอน…เป็นเรื่องง่าย✨

🏠✨ Sleep Tight Pillow Spray | ดี ไฮจีนิค พิลโล สเปรย์ 🍀

พาคุณเข้าสู่ภวังค์แห่งความผ่อนคลายอย่างล้ำลึก เพื่อนอนหลับได้อย่างมีคุณภาพตลอดคืน 🌷🌱

✨ มอบความผ่อนคลาย เพิ่มคุณภาพในการนอนหลับ เพื่อให้รู้สึกสดชื่น ปลอดโปร่ง รับเช้าวันใหม่ได้อย่างเต็มที่ 🥰🏡

✅ ช่วยให้คุณนอนหลับได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
✅ ช่วยให้คุณนอนหลับได้ง่ายขึ้น
✅ ผ่อนคลาย ลดความตึงเครียด
✅ ความจำดีขึ้น ภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้น
✅ ช่วยให้คุณตื่นนอนพร้อมความสดชื่น
✅ กระปรี้กระเปร่า มีความคิดสร้างสรรค์
 
📣 โปรโมชั่นพิเศษ‼ เพียง 390 บาท จากราคาปกติ 590 บาท

กลิ่นหอมช่วยเพิ่มคุณภาพการนอนหลับ

บทความที่เกี่ยวข้อง

Scroll to Top