เชื้อโรคในอากาศถือเป็นภัยเงียบที่สามารถส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพของคนเราได้หลายวิธี โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการปนเปื้อนของอากาศจากมลพิษและเชื้อโรคสูง อย่างเช่น กรุงเทพมหานคร, เชียงใหม่ และจังหวัดที่มีประชากรหนาแน่นต่าง ๆ การไอ จาม หรือหายใจรดกัน ถือเป็นช่องทางหลักที่ทำให้เชื้อโรคสามารถกระจายในอากาศและติดต่อไปยังบุคคลอื่นได้
ในวงจรชีวิตหนึ่งวันของคนเรา มีการหายใจเพื่อนำเอาอากาศเข้าไปในร่างกายเป็นจำนวนมาก โดยเฉลี่ยแล้วอัตราการหายใจต่อวันของคนที่มีสุขภาพปกติจะสูงถึง 20,000 – 30,000 ครั้งต่อวันเลยทีเดียว จากการวิเคราะห์ข้อมูล ในปี พ.ศ. 2563 รายงานว่า 3 ใน 5 เมืองใหญ่ของโลกจากทวีปเอเชีย มีผู้เสียชีวิตจากผลกระทบทางอากาศมากถึง 160,000 ราย ได้แก่ เมืองเดลี ประเทศอินเดีย 54,000 คน เมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น 40,000 คน และเมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน 39,000 คนเลยทีเดียว จะเห็นได้ว่าเป็นจำนวนที่ไม่น้อยเลยค่ะ ที่ต้องเสียชีวิตไปเพราะผลกระทบด้านอากาศเพียงอย่างเดียว
เชื้อโรคในอากาศสามารถมาจากหลายแหล่งที่แตกต่างกันได้ ดังนี้
ละอองฝอยจากการไอหรือจาม : เมื่อคนที่ติดเชื้อไอหรือจาม ละอองฝอยเล็ก ๆ ที่มีเชื้อโรคสามารถลอยอยู่ในอากาศและแพร่กระจายไปสู่คนอื่นได้
ฝุ่นละอองและอนุภาคขนาดเล็ก : เชื้อโรคบางชนิดสามารถติดมากับฝุ่นละอองหรืออนุภาคขนาดเล็กที่ลอยอยู่ในอากาศ และเมื่อคนสูดอากาศเข้าไปก็อาจทำให้ติดเชื้อได้
เชื้อรา : สปอร์ของเชื้อราที่เกิดจากการเน่าเสียของสิ่งมีชีวิต เช่น ใบไม้หรืออาหารที่ทิ้งไว้ เชื้อรานี้สามารถลอยอยู่ในอากาศและทำให้เกิดปัญหาสุขภาพหากสูดหายใจเข้าไป
การปล่อยเชื้อโรคจากพื้นผิว : เมื่อพื้นผิวที่ปนเปื้อนเชื้อโรคถูกสัมผัสและเชื้อโรคนี้ถูกปล่อยเข้าสู่อากาศผ่านการกวาด การเช็ด หรือการทำความสะอาด
ระบบระบายอากาศและเครื่องปรับอากาศ : หากระบบเหล่านี้ไม่ได้รับการดูแลหรือทำความสะอาดอย่างเหมาะสม อาจกลายเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคที่ถูกพัดพาไปทั่วพื้นที่
การแพร่กระจายจากสัตว์หรือแมลง : สัตว์เลี้ยงหรือแมลงสามารถนำพาเชื้อโรคต่าง ๆ เข้ามาในบ้านหรือที่ทำงาน ทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายในอากาศ
การไอ จาม: เมื่อเราหรือคนรอบข้างไอหรือจาม ละอองน้ำลายที่มีเชื้อโรคจะกระจายออกไปในอากาศ
การพูด: การพูดก็ทำให้เกิดละอองน้ำลายขนาดเล็กที่อาจมีเชื้อโรคปะปนอยู่ได้
การทำความสะอาด: การปัดกวาด ทำความสะอาดบ้านหรือที่ทำงาน อาจทำให้ฝุ่นละอองที่บรรจุเชื้อโรคปลิวกระจายไปในอากาศ
สัตว์เลี้ยง: ขนสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว สามารถพาเชื้อโรคมาติดตัวได้ และเมื่อสัตว์เหล่านี้ขยับตัวหรือถูกเราสัมผัส ก็อาจทำให้เชื้อโรคกระจายไปในอากาศได้
ระบบระบายอากาศ: ในอาคารที่ใช้ระบบระบายอากาศที่ไม่ดีพอ อาจทำให้เชื้อโรคสะสมและแพร่กระจายได้ง่าย
สิ่งปฏิกูล: สิ่งปฏิกูลจากสัตว์หรือมนุษย์ที่ไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกสุขลักษณะ อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรคและทำให้เกิดละอองที่ปนเปื้อนเชื้อโรคได้
การแพร่เชื้อของโรคติดต่อผ่านละอองธุลีที่สามารถอยู่ในอากาศได้เป็นเวลานานและสามารถถูกเคลื่อนย้ายไปตำแหน่งอื่นได้ โรคที่สามารถแพร่เชื้อทางอากาศได้มีหลายโรค ทั้งที่พบในมนุษย์และในสัตว์ เชื้อก่อโรคนั้น ๆ อาจเป็นเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือเชื้อรา สามารถแพร่ผ่านการหายใจ การพูด การไอ จาม การปัดฝุ่น การพ่นสเปรย์ การกดน้ำที่โถชำระ และกิจกรรมใด ๆ ที่ทำให้เกิดอนุภาคละอองลอย (aerosol) หรือละอองฝอย (droplets) โดยทั่วไปแล้วโรคติดต่อที่แพร่เชื้อทางอากาศจะไม่นับรวมโรคที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ เช่น สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย แก๊สที่มีพิษต่อร่างกาย หรือฝุ่นอนุภาคอื่น ๆ เชื้อโรคในอากาศที่พบบ่อย ได้แก่ แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา และสปอร์ของเชื้อรา
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการแพร่กระจายของเชื้อโรคในอากาศ ได้แก่
ขนาดของละออง: ละอองที่มีขนาดเล็กจะลอยอยู่ในอากาศได้นานกว่าละอองขนาดใหญ่
ความชื้น: ความชื้นในอากาศที่สูงจะเอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อโรคบางชนิด
อุณหภูมิ: อุณหภูมิที่เหมาะสมจะช่วยให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดี
การไหลเวียนของอากาศ: การไหลเวียนของอากาศที่ไม่ดีจะทำให้เชื้อโรคสะสมอยู่ในที่แคบ
วิธีป้องกันตัวเองจากเชื้อโรคในอากาศ
สวมหน้ากาก: โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีคนพลุกพล่าน หรือเมื่อมีอาการไอ จาม
ล้างมือบ่อยๆ: ใช้สบู่และน้ำสะอาดล้างมือให้สะอาด
หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้า: โดยเฉพาะบริเวณปาก จมูก และตา
ทำความสะอาดบ้าน: โดยเฉพาะพื้นผิวที่สัมผัสบ่อย เช่น โต๊ะ เก้าอี้ มือจับประตู
ระบายอากาศ: เปิดหน้าต่างบ่อยๆ เพื่อให้อากาศถ่ายเท
ฉีดวัคซีน: เพื่อป้องกันโรคติดเชื้อต่างๆ
ในอากาศมีมลพิษอะไรบ้าง
ในประเทศไทยหน่วยงานที่ดูแลและรายงานเรื่องมลภาวะในอากาศคือ กรมควบคุมมลพิษ ซึ่งรายงานดัชนีคุณภาพอากาศหรือที่เรียกว่า Air quality index (AQI) เป็นค่าที่ประชาชนทั่วไปเข้าใจได้ง่าย สื่อถึงมลพิษทางอากาศที่อันตรายต่อสุขภาพรวม 6 ชนิด ได้แก่
ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) เป็นฝุ่นที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอน เกิดจากการเผาไหม้ทั้งจากยานพาหนะ การเผาวัสดุการเกษตร ไฟป่า และกระบวนการอุตสาหกรรม สามารถเข้าไปถึงถุงลมในปอดได้ ทําให้ปอดเสื่อม หลอดลมอักเสบ มีอาการหอบหืด
ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) เป็นฝุ่นที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 10 ไมครอน เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง การเผาในที่โล่ง กระบวนการอุตสาหกรรม การบด การโม่ หรือการทําให้เป็นผงจากการก่อสร้าง เมื่อหายใจเข้าไปสามารถเข้าไปสะสมในระบบทางเดินหายใจ อันตรายต่อสุขภาพ
ก๊าซโอโซน (O3) เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน และสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย ก่อให้เกิดการระคายเคืองตา เยื่อบุต่างๆ และระบบทางเดินหายใจ ความสามารถในการทำงานของปอดลดลง เหนื่อยเร็ว โดยเฉพาะในเด็ก คนชรา และคนที่เป็นโรคปอดเรื้อรัง
ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเชื้อเพลิง ก๊าซชนิดนี้จะไปแย่งจับกับฮีโมโกลบินในเลือด ทำให้การลำเลียงออกซิเจนไปสู่เซลล์ต่างๆ ของร่างกายลดน้อยลง ส่งผลให้ร่างกายเกิดอาการอ่อนเพลีย และหัวใจทำงานหนักขึ้น
ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงต่างๆ ในอุตสาหกรรม มีผลต่อระบบการมองเห็นและผู้ที่มีอาการหอบหืดหรือ โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ
ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) เกิดการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่มีกำมะถัน (ซัลเฟอร์) ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุตา ผิวหนัง และระบบทางเดินหายใจ หากได้รับเป็นเวลานาน ๆ จะทำให้เป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังได้