วิธีรับมือฝุ่น PM2.5 ให้สุขภาพไม่พัง!

ฝุ่น PM 2.5 ที่กลับมาคุกคามชาวกรุงเทพฯ อีกครั้ง‼️ ฝุ่น PM 2.5 คือ ฝุ่นละอองขนาดจิ๋วมีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 2.5 ไมโครเมตร ซึ่งมีขนาด "เล็กกว่าเส้นผมของคนเรา" มองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า ดี ไฮจีนิค มีวิธีรับมือฝุ่น PM2.5 อย่างไรให้สุขภาพไม่พัง มาฝากกันค่ะ

ปัญหาหมอกควันและค่าฝุ่น PM 2.5 เกินมาตรฐาน เป็นสิ่งที่พบได้เป็นประจำในช่วงหน้าหนาวจากความกดอากาศที่สูงขึ้น

ทำให้เกิดสภาวะอากาศปิด อากาศไหลเวียนไม่ดีจึงมีการกักเก็บฝุ่น ควันและมลภาวะต่าง ๆ ไว้ในชั้นบรรยากาศ รวมถึงฝุ่น PM 2.5 ที่มีขนาดเล็กมากเกินกว่าที่ขนจมูกของมนุษย์จะสามารถกรองฝุ่นชนิดนี้ ป้องกันไม่ให้เข้าสู่ร่างกายได้ ส่งผลเสียต่อสุขภาพมากมาย ทั้งโรคในระบบทางเดินหายใจ หลอดลมอักเสบ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง มะเร็งปอด โรคผิวหนัง โรคเยื่อบุตาอักเสบ รวมถึงโรคหัวใจขาดเลือด และโรคหลอดเลือดในสมอง

เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงจากปัญหาสุขภาพดังกล่าว การป้องกันตัวเองจากฝุ่น PM 2.5 ทั้งจากภายในและภายนอกจึงมีความสำคัญมาก

ระดับความหนาแน่นของฝุ่น กับ ผลกระทบต่อสุขภาพ

  • ที่ระดับความเข้มข้นของดัชนีคุณภาพอากาศ ( Air Quality Index : AQI) 51 ถึง 100 : คนไข้กลุ่มที่มีโรคประจำตัวเช่น โรคหอบหืด โรคปอด โรคภูมิแพ้โพรงจมูกอักเสบ อาจเริ่มมีอาการระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ มีอาการไอ จาม หายใจเหนื่อยได้ หากอยู่ในที่กลางแจ้งเป็นระยะเวลานาน

  • ที่ระดับความเข้มข้นของดัชนีคุณภาพอากาศ ( Air Quality Index : AQI) 101 ถึง 150 : คนไข้กลุ่มที่มีโรคประจำตัวเช่น โรคหอบหืด โรคปอด โรคภูมิแพ้โพรงจมูกอักเสบ จะมีอาการระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ มีอาการไอ จาม หายใจหอบเหนื่อยได้ คนไข้กลุ่มนี้ควรเลี่ยงการออกไปในที่กลางแจ้ง

  • ที่ระดับความเข้มข้นของดัชนีคุณภาพอากาศ ( Air Quality Index : AQI) 151 ขึ้นไป : คนไข้กลุ่มที่มีโรคประจำตัวเช่น โรคหอบหืด โรคปอด โรคภูมิแพ้โพรงจมูกอักเสบ จะมีอาการระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ มีอาการไอ จาม หายใจหอบเหนื่อยได้ คนไข้กลุ่มนี้ไม่ควรออกไปในที่กลางแจ้ง ส่วนบุคคลกลุ่มอื่นควรเลี่ยงการออกไปในที่กลางแจ้ง อาจทำให้มีอาการระคายเคืองทางเดินหายใจ เช่น น้ำมูก จาม คัดจมูก หรือผิวหนังอักเสบ ผื่นคันได้

แพ้ฝุ่น pm 2.5 อยู่หรือเปล่า? สังเกตได้จากอาการเหล่านี้

ในบุคคลทั่วไป อาจมีอาการระคายเคืองโพรงจมูก มีจาม น้ำมูกใส ไอ หรือหายใจไม่สะดวก อาจมีตาแดง คันตา น้ำตาไหลผู้ป่วยกลุ่มโรคภูมิแพ้โพรงจมูกอักเสบ โรคหอบหืด หรือโรคปอดอื่นๆ จะพบว่ามีอาการกำเริบของโรคตั้งแต่คัดจมูกมาก มีน้ำมูกไหล ไอ หอบเหนื่อย หายใจเสียงหวีด บางรายอาจรุนแรงถึงระบบหายใจล้มเหลวได้ กลุ่มผู้ป่วยภูมิแพ้ผิวหนัง จะมีอาการกำเริบของโรคคันมาก เกิดผื่นแดงตามผิวหนังคุมโรคไม่ได้

เคล็ด(ไม่)ลับ! ดูแลตัวเองยังไงในช่วงที่อากาศหนาแน่นด้วย ฝุ่น pm 2.5

พักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำให้มากๆ รับประทานผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ หลีกเลี่ยงการออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือออกกำลังกายกลางแจ้ง หากเป็นวันที่ค่าของฝุ่น pm 2.5 เกินค่ามาตรฐาน ให้พิจารณามาออกกำลังกายภายในอาคารแทน ปิดประตูหน้าต่างให้สนิทป้องกันการเล็ดลอดของฝุ่นเข้ามาในอาคาร ในผู้ป่วยกลุ่มโรคภูมิแพ้โพรงจมูกอักเสบ และหอบหืด ควรใช้ยาสูดทางปาก และยาพ่นจมูกต่อเนื่อง หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ พิจารณาการล้างจมูกอาจช่วยลดทั้งฝุ่น pm 2.5 ในทางเดินหายใจส่วนบน และสารก่อภูมิแพ้ได้

ในผู้ป่วยกลุ่มภูมิแพ้ผิวหนัง แนะนำใส่เสื้อผ้าที่ปกปิดร่างกายมิดชิด และหลังกลับเข้ามาภายในอาคารแนะนำเปลี่ยนเสื้อผ้า อาบน้ำ สระผมชำระล้างร่างกายที่อาจนำพาฝุ่นเข้ามาภายในอาคาร 

ขอบคุณข้อมูล: โรงพยาบาลพญาไท

“ดี ไฮจีนิค” บริการทำความสะอาดพร้อมฟื้นฟูสุขอนามัยแบบครบวงจร เพื่อประสิทธิภาพการนอนที่ดีขึ้น ด้วยนวัตกรรมจากประเทศเยอรมนี

“ดี ไฮจีนิค” 💚  ยืนหนึ่ง‼ ด้านบริการทำความสะอาดพร้อมฟื้นฟูสุขอนามัยแบบครบวงจร ด้วยนวัตกรรมจากประเทศเยอรมนี🇩🇪  ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล มีสาขาทั่วโลกกว่า 40 ประเทศ 👍
✅ บริการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรค ที่นอน พรม โซฟา ผ้าม่าน อันดับ 1 ของโลก ลิขสิทธิ์นำเข้าจากเยอรมนี
✅  ระบบและขั้นตอนที่ทันสมัย แห้งและปลอดสารเคมี 
✅ ได้รับการรับรองผลลัพธ์และความปลอดภัยจาก ECARF (องค์กรวิจัยโรคภูมิแพ้ยุโรป)
✅ มีบริการตรวจสอบปริมาณไรฝุ่น และสารก่อภูมิแพ้ฟรี หรือประเมินพื้นที่ก่อนให้บริการจริง
⠀⠀⠀

บทความที่เกี่ยวข้อง

Scroll to Top